เรากำลังทำชีวิตให้เรียบง่าย พึ่งพาตนเองได้ ใช้และสร้างทรัพยากรที่มีอยู่รอบตัวให้พอดีกับตัวเอง เราขอเชิญคุณมาเรียนรู้และแลกเปลี่ยนกัน

วันเสาร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2554

คิดถึงจัง

ไม่ได้เข้าอัพเดทเสียนานเลย คิดถึงจัง ที่ผ่านมาชมรมสมุนไพรพื้นบ้านตำบลท่ามะไฟหวาน อ.แก้งคร้อ จ.ชัยภูมิของเรา ได้ผ่านงานมากมายแทบจะเป็นลม เลยไม่ค่อยว่างน่ะ มาดูกันเลยค่ะ

งานของเราเริ่มมาตั้งแต่วันที่ ๑๓-๑๗ ตุลาคม ๒๕๕๓ เราได้จัดโครงการอบรมการดูแลสุขภาพแนวเศรษฐกิจพอเพียง ตามหลักการแพทย์วิถีพุทธ (วิถีธรรม)วัดป่าสุคะโต จ.ชัยภูมิ ต่อด้วยวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๓ เราจัดกิจกรรมบริการทางสุขภาพให้กับพ่อแม่พี่น้องที่มาเดินธรรมยาตราเพื่อลุ่มน้ำลำปะทาว จ.ชัยภูมิ แล้วพวกเราก็ทำยากันในวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ ทำยาน้ำมันว่านมหาประสาน และยาแก้ไอเสียงแคน สนุกดีค่ะ แล้วจะทยอยเล่าให้ฟังนะคะ

โครงการอบรมการดูแลสุขภาพแนวเศรษฐกิจพอเพียง ตามหลักการแพทย์วิถีพุทธ (วิถีธรรม)
๑. กิจกรรม
เป็นการเข้าค่ายสุขภาพ ๕ วัน ๔ คืน (๑๓-๑๗ ต.ค.๕๓) เพื่อเรียนรู้ที่จะเป็นหมอดูแลตนเอง ในการบำบัดอาการไม่สบายกายไม่สบายใจต่างๆ ด้วยตนเอง วิทยากร อาจารย์ปางธาราไพร เนื้อหาบรรยาย ยา ๙ เม็

๒. จำนวนกลุ่มเป้าหมาย / เกิดผลอย่างไร
ประมาณ ๙๐ –๑๕๐ คน ต่อวัน
จากการสุ่มตัวอย่างกลุ่มผู้ที่เข้าร่วมอบรม จำนวน ๔๒ ท่าน ได้รับผลดังนี้

ตารางแสดงผลการรักษาของกลุ่มอาการต่างๆ จำนวน ๔๒ ท่าน
ลำดับที่ กลุ่มอาการ จำนวนคน ดีขึ้น ไม่ดีขึ้น แย่ลง
๑. ปวดไมเกรน ปวดหัวประจำ ๕ /
๒. เสียงดังในหูน้ำในหูไม่เท่ากัน ๑ /
๓. ปวดจมูก ๑ /
๔. ปวดเมื่อยตามร่างกาย ๔ /
๕. นิ้วล็อค ๑ /
๖. เครียด ๒ /
๗. ร่างกายอ่อนแอ ป่วยง่าย ร้อนใน ๑ /
๘. ไอ ๑ /
๙. หอบ ถุงลมโป่งพอง หลอดลมตีบ ๑ /
๑๐. ภูมิแพ้ ไซนัส ไขมันในเลือดสูง ๑ /
๑๑ . ความดันโลหิตสูง ๒ /
๑๒. ไม่ได้ระบุอาการก่อนเข้าค่าย แต่หลังจากที่ได้เข้าค่ายแล้วมีสุขภาพกายใจที่ดีขึ้น ๒๒ /

จากตาราง ผู้ป่วยทุกกลุ่มอาการ หลังจากการเข้าค่ายแล้ว มีสุขภาพดีขึ้น อาการไม่สบายเนื้อตัว ลดลง รู้สึกเบากาย สบาย มีกำลังกันทุกคน ดังนั้นผลการรักษาจึงได้ผลเป็นที่น่าพอใจถึง ๑๐๐ %

๓. ความสำเร็จ
ความสำเร็จของโครงการดูความตั้งใจของผู้เข้าร่วมอบรม จากการสังเกตพบว่าทุกท่านได้ดื่มน้ำคลอโรฟิลล์ กวาซา ดีทอกซ์ แช่มือแช่เท้า หยอดตา หยอดหู ล้างจมูก พอก-ทา โยคะ อาหารปรับสมดุล ธรรมมะ ทำวัตร รู้พักรู้เพียร ดื่มน้ำปัสสาวะ และจากการแบ่งกลุ่มเพื่อเรียนรู้ฐานกิจกรรม พบว่าทุกท่านเข้ากลุ่มและให้ความร่วมมือในการทำงานเป็นอย่างดี
ตัวชี้วัดอีกประการหนึ่ง ผู้เข้าร่วมอบรมรู้สึกดีขึ้น อาการไม่สบายเนื้อตัวต่างๆ หายไป ยังสัญญาว่าจะกลับไปบ้านจะปฏิบัติตัวเช่นเดิม และยังอยากให้มีการจัดค่ายแบบนี้อีก นับว่าเป็นความภาคภูมิใจของคณะผู้จัดทุกคน

๔. ปัจจัย เงื่อนไขที่ทำให้สำเร็จ
กรณีศึกษา
๑. ผู้ป่วยแม่ชีสมศรี วัดป่าสุคะโต เป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่แต่หายด้วยวิธีการของการแพทย์วิถีพุทธ (วิถีธรรม)
๒. คุณวิจิตรา เดินแทบไม่ได้ มีการกระตุกคล้ายโรคพาคินสัน แต่อาการดีขึ้นแล้ว เดินได้และไม่กระตุก เพราะได้แม่ชีสมศรีและแม่ชีอื่นๆ ช่วยกันดูแล
๓. แม่ชีอัมพิกา เป็นโรคหัดเยอรมัน แต่ไม่ได้ไปหาหมอ เพราะแม่ชีด้วยกันที่วัดป่าสุคะโต ช่วยกันรักษาด้วยการแพทย์วิถีพุทธ (วิถีธรรม) รักษาหายในระยะเวลา๘ วัน
๔. กรณีศึกษาอื่นๆ ที่อาจารย์ปางธาราไพร นำมาถ่ายทอดผ่านการบรรยาย เช่น มะเร็งชนิดต่างๆ

วิทยากร
อาจารย์ปางธาราไพร อธิบายให้ผู้เข้าร่วมอบรมด้วยความสดชื่นแจ่มใส และเป็นกันเอง ทำให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้สึกผ่อนคลาย นอกจากนี้ยังบรรยายอย่างละเอียดแจ่มชัด ทำให้ผู้เข้าร่วมเข้าใจเป็นอย่างดี

ความมีส่วนร่วม ระหว่างทีมครู ก และคณะทำงานในชุมชน ๕๐ – ๕๐
การที่อาจารย์ปางธาราไพรและทีมงานครู ก ได้วางนโยบายให้คณะทำงานในชุมชนมีส่วนร่วมในการทำงานนั้น ก็เพื่อวางรากฐานให้กับคนในชุมชนพึ่งพาตนเองได้ในอนาคต ซึ่งเป็นสิ่งที่ดี ทำให้มีบรรยากาศการทำงานอย่างมีส่วนร่วม สร้างสรรค์ ความเป็นพี่เป็นน้อง และความสมัครสมานสามัคคี

๕. สิ่งที่ยังไม่ได้ดั่งใจ เพราะอะไร จะแก้ไขอย่างไร
ทุกคนพยายามทำอย่างเต็มที่แล้ว ทุ่มเททั้งกายใจ หยาดเหงื่อแรงงาน กำลังทรัพย์/ปัจจัย สุดกำลัง สุดความสามารถ ด้วยความอดทน ด้วยความมุ่งมั่นและกล้าหาญ และไม่กลัวอุปสรรคต่างๆ ที่จะเข้ามา แม้ว่าไม่มีค่าจ้างค่าตอบแทนใด ๆ จากโครงการอบรมฯ ก็ไม่ได้หวั่นเกรงอะไร เพราะมีความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะทำให้ทุกคนได้เรียนรู้การพึ่งพาตนเองด้านสุขภาพ จึงไม่มีอะไรที่ไม่ได้ดั่งใจ แต่อาจมีสิ่งที่ต้องแก้ไขซึ่งมีมากมายบรรยายไม่หมด เช่น การลงทะเบียน การประเมินผล ฯลฯ แต่เราจะเอาไว้พูดถึงเมื่อจะต้องมีค่ายครั้งต่อไป

๖. สิ่งที่ไม่ได้คาดหวัง แต่เกิดขึ้น
การเติบโตของชมรมสมุนไพรพื้นบ้านตำบลท่ามะไฟหวาน
๑. แรงบันดาลใจ ไฟสร้างสรรค์ ที่เกิดจากสมาชิกชมรมฯ ได้เกิดขึ้น กล่าวคืออยากจะมีส่วนร่วมในการจัดค่ายสุขภาพครั้งต่อไป
๒. ทักษะความชำนาญในการผลิตยาเพื่อชุมชน แม้ว่าผู้ผลิตไม่ได้รับค่าตอบแทนมากนัก แต่ก็เพราะทำด้วยใจ เพราะการมัวคิดถึงแต่รางวัลค่าตอบแทน จะทำให้ชุมชนไม่เติบโต ชมรมฯ เราไม่ได้มีเงินทองอะไรมากนักกับการต่อสู้กับปัญหาความยากจนของชาวบ้าน ดังนั้นหากเราสามารถเสียสละเท่าที่เราทำได้ โดยไม่ทุกข์มากนัก ก็เป็นสิ่งที่ควรทำ ดังนั้นจึงทำให้มีผลิตภัณฑ์สมุนไพรฤทธิ์เย็นมากมาย เป็นภาพพจน์ที่ดีของชมรมสมุนไพรพื้นบ้านฯ และชาวตำบลท่ามะไฟหวาน
๓. ความร่วมมือของเครือข่ายการทำงาน ได้แก่ วัดป่าสุคะโต ศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น จ.ชัยภูมิ ชมรมเด็กรักนก โรงพยาบาลแก้งคร้อ สถานีอนามัยตำบลท่ามะไฟหวาน และชมรมสมุนไพรพื้นบ้านตำบลท่ามะไฟหวาน อบต. ขับเคลื่อนงานอย่างเป็นสุข แม้เหน็ดเหนื่อย เครียด แต่งานก็ประสบผลสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี

๗. ความคิด ความรู้ ทักษะที่ได้
ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถเปลี่ยนแปลงความคิดที่ว่า สุขภาพเป็นเรื่องต้องพึ่งผู้อื่นมาเป็นการพึ่งตนเอง หลายคนต้องการจัดค่ายสุขภาพแบบนี้ในพื้นที่ของตนเองบ้าง เพราะเห็นว่าเป็นประโยชน์กับชาวบ้านอย่างแท้จริง

๘. แผนการทำงานต่อไป ทำอะไร เมื่อไร อย่างไร
เมื่อทุกคนต้องการให้มีค่ายครั้งต่อไป เราจึงวางแผนพัฒนาบุคลากรของชมรม โดยมีกิจกรรมเข้าวัดวันอาทิตย์ใกล้ชิดพระศาสนา เป็นเวทีฝึกทักษะให้กับสมาชิก โดยหลังจากที่ชมรมฯ ได้สรุปงานแล้ว ทุกวันอาทิตย์จะมีสมาชิกชมรมหมุนเวียนกันมาทำกิจกรรมแช่มือแช่เท้า ประคบ อบ พอก คัวซา ให้กับผู้มาทำบุญ หรือผู้ที่ต้องการเรียนรู้

โครงการอบรมการดูแลสุขภาพตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงนี้ ลำพังชมรมสมุนไพรพื้นบ้านฯ คงไม่สามารถทำได้ โดยเฉพาะการจัดค่ายได้ถึง ๕ วันและจัดขึ้นในพื้นที่บ้านเรานั้น เป็นสิ่งที่จะเกิดได้ยากมาก ส่วนใหญ่คุณหมอจะให้ไปเข้าอบรมที่สวนป่านาบุญ อ.ดอนตาล จ.มุกดาหาร แต่เพราะความร่วมมือของพวกเราทุกฝ่าย ดังสุภาษิตที่ว่า “น้ำช่วยกันหาบ หยาบช่วยกันดึง” โดยเฉพาะองค์กรภาคประชาชนมาช่วยเหลือประชาชนด้วยกัน ปัญหาของคนในชุมชน คนในชุมชนเรียนรู้ที่จะแก้ไขด้วยตนเอง นับเป็นความยั่งยืน พึ่งพาตนเองได้อย่างแท้จริง
ชมรมสมุนไพรฯ ขอขอบคุณทุกๆ ภาคส่วนอย่างยิ่ง เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับความร่วมมือจากท่านอีกเช่นเคยในโอกาสต่อไป